RGB และ CMYK แตกต่าง และเหมาะกับงานออกแบบประเภทใด?
สิ่งหนึ่งที่มักจะต้องอธิบายกับทางลูกค้าอยู่เสมอเกี่ยวกับเรื่องสี คือ ความแตกต่างระหว่าง RGB และ CMYK ซึ่งโดยทั่วไปมักจะคิดว่าสีที่ได้จากการพิมพ์จะต้องเหมือนกันบนหน้าจอที่เห็น ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งหากสรุปอย่างง่ายๆ ดังนี้
RGB ย่อมาจาก red, green และ blue คือ กระบวนการผสมสีจากแม่สี 3 สี คือสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน การใช้สัดส่วนของสี 3 สีนี้ต่างกัน จะทำให้เกิดสีต่างๆ ได้อีกมากมาย ซึ่ง RGB จะถูกนำไปใช้กับสื่อที่ใช้ระบบแสงแสดงภาพ เช่น ทีวี คอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายภาพ โปรเจคเตอร์ เป็นต้น
ซึ่งภาพที่แสดงออกมาจะมีลักษณะที่แสงด้านหลังของเครื่องส่องผ่าน ทำให้สีออกมาสดมาก ๆ เช่น สีแดง จะออกเป็นแดงที่จัดมาก ๆ
ระบบสี CMYK เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ CMYK ย่อมาจาก cyan (ฟ้าอมเขียว) magenta (แดงอมม่วง) yellow (เหลือง) Black (ดำ) ซึ่งเป็นชื่อสีที่นำมาใช้ การผสมสีทั้งสี่นี้ จะทำให้เกิดสีได้อีกหลายร้อยสี นำมาใช้ในการพิมพ์สีต่าง ๆ ซึ่งเป็นสีที่เรามองเห็นบนวัตถุต่าง ๆ เช่น กระดาษ
ภาพที่ออกมาหากเทียบง่ายๆ เหมือนเอาสีมาอยู่วัตถุทึบแสง ที่ไม่มีแสงส่องผ่าน ทำให้สีที่ออกมาเป็นลักษณะ ทึมๆ นิดๆ เช่น สีแดง จะออกมาไม่สดเหมือนประเภทสีของหมวด RGB
ซึ่งหากนำไปใช้ในงานออกแบบ ควรตั้งประเภทของหมวดสีให้ถูกต้อง
RGB เหมาะสำหรับงาน ออกแบบเว็บไซต์, ทำสื่อ Presentation, ออกแบบ Animation เป็นต้น
CMYK เหมาะสำหรับงาน สื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด เช่น Brochure, แผ่นพับ เป็นต้น
RGB ย่อมาจาก red, green และ blue คือ กระบวนการผสมสีจากแม่สี 3 สี คือสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน การใช้สัดส่วนของสี 3 สีนี้ต่างกัน จะทำให้เกิดสีต่างๆ ได้อีกมากมาย ซึ่ง RGB จะถูกนำไปใช้กับสื่อที่ใช้ระบบแสงแสดงภาพ เช่น ทีวี คอมพิวเตอร์ กล้องถ่ายภาพ โปรเจคเตอร์ เป็นต้น
ซึ่งภาพที่แสดงออกมาจะมีลักษณะที่แสงด้านหลังของเครื่องส่องผ่าน ทำให้สีออกมาสดมาก ๆ เช่น สีแดง จะออกเป็นแดงที่จัดมาก ๆ
ระบบสี CMYK เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ CMYK ย่อมาจาก cyan (ฟ้าอมเขียว) magenta (แดงอมม่วง) yellow (เหลือง) Black (ดำ) ซึ่งเป็นชื่อสีที่นำมาใช้ การผสมสีทั้งสี่นี้ จะทำให้เกิดสีได้อีกหลายร้อยสี นำมาใช้ในการพิมพ์สีต่าง ๆ ซึ่งเป็นสีที่เรามองเห็นบนวัตถุต่าง ๆ เช่น กระดาษ
ภาพที่ออกมาหากเทียบง่ายๆ เหมือนเอาสีมาอยู่วัตถุทึบแสง ที่ไม่มีแสงส่องผ่าน ทำให้สีที่ออกมาเป็นลักษณะ ทึมๆ นิดๆ เช่น สีแดง จะออกมาไม่สดเหมือนประเภทสีของหมวด RGB
ซึ่งหากนำไปใช้ในงานออกแบบ ควรตั้งประเภทของหมวดสีให้ถูกต้อง
RGB เหมาะสำหรับงาน ออกแบบเว็บไซต์, ทำสื่อ Presentation, ออกแบบ Animation เป็นต้น
CMYK เหมาะสำหรับงาน สื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิด เช่น Brochure, แผ่นพับ เป็นต้น