Paper Sizes
มาตรฐานของขนาดกระดาษ ISO 216
มาตรฐานขนาดกระดาษในระบบ ISO 216ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยมีพื้นฐานแนวคิดมาจากมาตรฐานระบบ German DIN 476 จุดเด่นของมาตรฐานนี้คือเมื่อนำกระดาษที่มีขนาดตามที่กำหนดไว้มาพับครึ่ง ขนาดของกระดาษที่พับแล้วยังคงมีสัดส่วน (อัตราส่วนของด้านสูงกับด้านกว้าง) เดียวกับขนาด
ก่อนพับและหากพับครึ่งไปอีก ขนาดใหม่ก็ยังคงมีสัดส่วนเดียวกันหมด ประโยชน์ทีได้คือเมื่อนำกระดาษไปตัดแบ่งไปใช้งานตามมาตรฐานนี้
จะไม่เกิดการเสียเศษหากมีงานที่ต้องการย่อส่วน เพื่อให้ได้ผลตามที่หลักการที่กำหนด ได้มีการคำนวณและพบว่าอัตราส่วนความสูงหารด้วยความกว้างจะเท่ากับสแควร์รูทของสอง (1.4142) และยังพบว่าระยะความกว้าง, ความสูงของขนาดพับครึ่งแล้วจะลดลงเป็น 70.7% จากเดิมเสมอ
มาตรฐานขนาดกระดาษในระบบ ISO 216ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยมีพื้นฐานแนวคิดมาจากมาตรฐานระบบ German DIN 476 จุดเด่นของมาตรฐานนี้คือเมื่อนำกระดาษที่มีขนาดตามที่กำหนดไว้มาพับครึ่ง ขนาดของกระดาษที่พับแล้วยังคงมีสัดส่วน (อัตราส่วนของด้านสูงกับด้านกว้าง) เดียวกับขนาด
ก่อนพับและหากพับครึ่งไปอีก ขนาดใหม่ก็ยังคงมีสัดส่วนเดียวกันหมด ประโยชน์ทีได้คือเมื่อนำกระดาษไปตัดแบ่งไปใช้งานตามมาตรฐานนี้
จะไม่เกิดการเสียเศษหากมีงานที่ต้องการย่อส่วน เพื่อให้ได้ผลตามที่หลักการที่กำหนด ได้มีการคำนวณและพบว่าอัตราส่วนความสูงหารด้วยความกว้างจะเท่ากับสแควร์รูทของสอง (1.4142) และยังพบว่าระยะความกว้าง, ความสูงของขนาดพับครึ่งแล้วจะลดลงเป็น 70.7% จากเดิมเสมอ
มาตรฐานรหัสชุด A
มาตรฐานขนาดกระดาษชุด A เป็นมาตรฐานในระบบ ISO ซึ่งเป็นระบบเมตริก จะกำหนดรหัส A0 ให้มีขนาดพื้นที่เท่ากับ 1 ตารางเมตร จากการคำนวณ
จะได้ขนาดของ A0 เท่ากับ 841 x 1189 มิลลิเมตร เมื่อทำการแบ่งครึ่งจากขนาด A0 ดังกล่าว ขนาดใหม่ที่ได้ตั้งเป็นรหัส A1 หากทำการแบ่งไปเรื่อย ๆ
ก็จะได้รหัส A2, A3, A4 .... มาตรฐานชุดนี้ เป็นมาตรฐานที่สร้างความคุ้นเคยและถูกนำใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะขนาด A4
ซึ่งมีขนาด 210 x 297 มิลลิเมตร เป็นขนาดของกระดาษถ่ายเอกสารที่ใช้กันมาก กระดาษหัวจดหมาย หนังสือ นิตยสาร ฯลฯ
และถ้านำกระดาษขนาด A4 ที่มีน้ำหนักเท่ากับ 80 กรัมต่อตารางเมตร กระดาษมาชั่งจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 5 กรัมพอดี
ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการหาน้ำหนักของกองกระดาษดังกล่าวโดยใช้วิธีนับจำนวนแผ่น
มาตรฐานขนาดกระดาษชุด A เป็นมาตรฐานในระบบ ISO ซึ่งเป็นระบบเมตริก จะกำหนดรหัส A0 ให้มีขนาดพื้นที่เท่ากับ 1 ตารางเมตร จากการคำนวณ
จะได้ขนาดของ A0 เท่ากับ 841 x 1189 มิลลิเมตร เมื่อทำการแบ่งครึ่งจากขนาด A0 ดังกล่าว ขนาดใหม่ที่ได้ตั้งเป็นรหัส A1 หากทำการแบ่งไปเรื่อย ๆ
ก็จะได้รหัส A2, A3, A4 .... มาตรฐานชุดนี้ เป็นมาตรฐานที่สร้างความคุ้นเคยและถูกนำใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะขนาด A4
ซึ่งมีขนาด 210 x 297 มิลลิเมตร เป็นขนาดของกระดาษถ่ายเอกสารที่ใช้กันมาก กระดาษหัวจดหมาย หนังสือ นิตยสาร ฯลฯ
และถ้านำกระดาษขนาด A4 ที่มีน้ำหนักเท่ากับ 80 กรัมต่อตารางเมตร กระดาษมาชั่งจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 5 กรัมพอดี
ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการหาน้ำหนักของกองกระดาษดังกล่าวโดยใช้วิธีนับจำนวนแผ่น
มาตรฐานรหัสชุด B
มาตรฐานรหัสชุด B นี้จะเป็นที่คุ้นเคยน้อยกว่ารหัสชุด A วิธีการกำหนดขนาดในรหัสชุดนี้เริ่มโดยให้รหัส B1 มีขนาดอยู่ระหว่าง A0 กับ A1 และให้มีระยะด้านสูงเท่ากับ 1 เมตร ทำให้ด้านกว้างเท่ากับ 0.707 เมตร (มาจากข้อกำหนด ความสูงหารความกว้างเท่ากับสแควร์รูทของสอง)
ดังนั้น ขนาดของรหัสชุด B จะมีด้านใดด้านหนึ่ง เป็นครึ่งหนึ่ง หรือหนึ่งในสี่ หรือหนึ่งในแปดของ 1 เมตรไปเรื่อย ๆ
งานที่นิยมใช้มาตรฐานรหัสชุดนี้คืองานโปสเตอร์ หนังสือ (ใช้ B5) พาสปอร์ต ซองเอกสาร
มาตรฐานรหัสชุด B นี้จะเป็นที่คุ้นเคยน้อยกว่ารหัสชุด A วิธีการกำหนดขนาดในรหัสชุดนี้เริ่มโดยให้รหัส B1 มีขนาดอยู่ระหว่าง A0 กับ A1 และให้มีระยะด้านสูงเท่ากับ 1 เมตร ทำให้ด้านกว้างเท่ากับ 0.707 เมตร (มาจากข้อกำหนด ความสูงหารความกว้างเท่ากับสแควร์รูทของสอง)
ดังนั้น ขนาดของรหัสชุด B จะมีด้านใดด้านหนึ่ง เป็นครึ่งหนึ่ง หรือหนึ่งในสี่ หรือหนึ่งในแปดของ 1 เมตรไปเรื่อย ๆ
งานที่นิยมใช้มาตรฐานรหัสชุดนี้คืองานโปสเตอร์ หนังสือ (ใช้ B5) พาสปอร์ต ซองเอกสาร
มาตรฐานรหัสชุด C
รหัสชุดนี้มีไว้ใช้กำหนดขนาดของซองใส่เอกสาร ที่เลขเดียวกัน รหัสของ C จะใหญ่กว่าของ A แต่เล็กกว่าของ B ดังนั้น กระดาษจดหมาย A4
จะสามารถใส่ลงในซองขนาด C4 และซองขนาด C4 ก็จะใส่ลงในซอง B4 ได้พอเหมาะ
รหัสชุดนี้มีไว้ใช้กำหนดขนาดของซองใส่เอกสาร ที่เลขเดียวกัน รหัสของ C จะใหญ่กว่าของ A แต่เล็กกว่าของ B ดังนั้น กระดาษจดหมาย A4
จะสามารถใส่ลงในซองขนาด C4 และซองขนาด C4 ก็จะใส่ลงในซอง B4 ได้พอเหมาะ