Colour Chart สำหรับโรงพิมพ์
Colour Chart คือ ตารางสีที่แสดงไว้เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบหรือใช้อ้างอิง Colour Chart สำหรับโรงพิมพ์จะเป็นตารางสีที่แสดงส่วนผสมเปอร์เซ็นต์เม็ดสีของแม่สีทั้ง สี่สีที่ใช้ในการพิมพ์ (Yellow Magenta Cyan และ Black)
เนื่องจากระบบการพิมพ์ออฟเซ็ทเป็นการพิมพ์แบบ Half tone สีต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นการผสมของเม็ดสกรีนของแม่สี ช่องสีแต่ละช่องในตารางสีจะถูกกำกับด้วยเปอร์เซ็นต์ของแม่สีแต่ละสี Colour Chart ข้างล่างเป็นตัวอย่างการจัดตารางสีแบบหนึ่ง แถวบนสุดเป็นการผสมสีของ B ไล่ จากช่องซ้ายไปขวา เริ่มจาก 5% เพิ่มทีละ 5% จนถึงช่องขวาสุดได้ 100% แถวที่ 2 เป็นการผสมสีของ Y M และ C ไล่จากช่องซ้ายไปขวา เริ่มจาก 5% เพิ่มทีละ 5% เท่ากันทุกสี จนถึงช่องขวาสุดได้ 100% แถวที่ 3 ถึง 5 เป็นการแสดงสีเดี่ยวๆ ของ Y M และ C ในแต่ละแถว เริ่มจาก 5% เพิ่มทีละ 5% จนถึง 100% ที่ช่องขวาสุด
สำหรับตาราง 4 x 4 ช่องที่อยู่ถัดลงไป แต่ละตารางจะมีค่า Y และ B ตายตัว เช่น Y 100 B 0 เท่ากับ Y 100% B 0% และในแต่ละตาราง ค่าของ C จะเท่ากันในแต่ละแถวของแนวตั้ง เริ่มจาก 0% ในช่องแถวขวาสุด ช่องในแถวถัดมาด้านซ้ายจะเท่ากับ 60% 80% และ 100% ตามลำดับ ส่วนค่าของ M จะเท่ากันในแต่ละแถวของแนวนอน เริ่มจาก 0% ในช่องแถวบนสุด ช่องในแถวถัดลงมาจะเท่ากับ 60% 80% และ 100% ตามลำดับ การจัดตารางสีสามารถจัดจำนวนช่องสีให้ละเอียดมากกว่าที่แสดงไว้ เช่น ค่าของ C และ M เพิ่มทีละ 10% หรือ 5% แทนที่จะใช้ 4 ช่องตามตัวอย่าง ซึ่งหากจัดให้ละเอียดจะไม่สามารถแสดงตารางทั้งหมดภายในหน้าเดียว จึงอาจต้องทำเป็นเล่ม
Colour Chart ใช้ในการออกแบบและจัดทำต้นฉบับ เพื่อเลือกสีที่ต้องการลงในภาพ หรือใช้สื่อสารกับโรงพิมพ์ว่าต้องการสีอะไร โดยบอกเปอร์เซ็นต์ของแม่สีแต่ละสี สำหรับโรงพิมพ์เองใช้ Colour Chart เพื่อเปรียบเทียบสีที่พิมพ์จากแท่นพิมพ์กับ Colour Chart ที่เป็นมาตรฐาน
เนื่องจากระบบการพิมพ์ออฟเซ็ทเป็นการพิมพ์แบบ Half tone สีต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นการผสมของเม็ดสกรีนของแม่สี ช่องสีแต่ละช่องในตารางสีจะถูกกำกับด้วยเปอร์เซ็นต์ของแม่สีแต่ละสี Colour Chart ข้างล่างเป็นตัวอย่างการจัดตารางสีแบบหนึ่ง แถวบนสุดเป็นการผสมสีของ B ไล่ จากช่องซ้ายไปขวา เริ่มจาก 5% เพิ่มทีละ 5% จนถึงช่องขวาสุดได้ 100% แถวที่ 2 เป็นการผสมสีของ Y M และ C ไล่จากช่องซ้ายไปขวา เริ่มจาก 5% เพิ่มทีละ 5% เท่ากันทุกสี จนถึงช่องขวาสุดได้ 100% แถวที่ 3 ถึง 5 เป็นการแสดงสีเดี่ยวๆ ของ Y M และ C ในแต่ละแถว เริ่มจาก 5% เพิ่มทีละ 5% จนถึง 100% ที่ช่องขวาสุด
สำหรับตาราง 4 x 4 ช่องที่อยู่ถัดลงไป แต่ละตารางจะมีค่า Y และ B ตายตัว เช่น Y 100 B 0 เท่ากับ Y 100% B 0% และในแต่ละตาราง ค่าของ C จะเท่ากันในแต่ละแถวของแนวตั้ง เริ่มจาก 0% ในช่องแถวขวาสุด ช่องในแถวถัดมาด้านซ้ายจะเท่ากับ 60% 80% และ 100% ตามลำดับ ส่วนค่าของ M จะเท่ากันในแต่ละแถวของแนวนอน เริ่มจาก 0% ในช่องแถวบนสุด ช่องในแถวถัดลงมาจะเท่ากับ 60% 80% และ 100% ตามลำดับ การจัดตารางสีสามารถจัดจำนวนช่องสีให้ละเอียดมากกว่าที่แสดงไว้ เช่น ค่าของ C และ M เพิ่มทีละ 10% หรือ 5% แทนที่จะใช้ 4 ช่องตามตัวอย่าง ซึ่งหากจัดให้ละเอียดจะไม่สามารถแสดงตารางทั้งหมดภายในหน้าเดียว จึงอาจต้องทำเป็นเล่ม
Colour Chart ใช้ในการออกแบบและจัดทำต้นฉบับ เพื่อเลือกสีที่ต้องการลงในภาพ หรือใช้สื่อสารกับโรงพิมพ์ว่าต้องการสีอะไร โดยบอกเปอร์เซ็นต์ของแม่สีแต่ละสี สำหรับโรงพิมพ์เองใช้ Colour Chart เพื่อเปรียบเทียบสีที่พิมพ์จากแท่นพิมพ์กับ Colour Chart ที่เป็นมาตรฐาน